งานแต่งอาข่าในลาว🇱🇦//ງານດອງອາຄາລາວ

2สาวมาเป็นแม่ครัว 1 วัน ที่สวนอ้อย-สาวอาข่า🇱🇦

เมนู กี้บกี้ น้องลีนดา

วิถีชีวิตของสาวลินดานึ่งข้าวรอพ่อกับแม่

ຕື່ນເຊົ້າຫນື່ງເຂົ້າ ແຕ່ງກີນສາວລາວບ້ານໂພນງາມ

วิถีชีวิตของคนดอย ดำนา(ปลูกข้าว)ลกกล้า _สาวอาข่า

เอาะโตขวก เนนูสาวเมี้ยน้องลีนดา

ตึกกระดุ้ง หาปลา ซีวิตบ้านๆแบบน้องลีนดา เป็นไงไปดู…🇱🇦

เมนูหอยโอก จิ้มแจ๋วซีฟู้ด อาหารหน้าฝน

มาดูเด็กๆฝึกเขียนตัวอักษร ลาว🇱🇦 และ จีน🇨🇳อยู่บ้าน- #AKHA ZAMI

ต้มอึ่ง

ขึ้นภูเขาหาของป่ามาทําอาหารกิน-AKHA NOI

หากินเราะ แม่น้ำกระดิ่ง กับสาวลีนดา

ตำแตง🥒🌶🧄อร่อยๆ_กินที่บ้าน กับ หลานน้อย//ຕຳໝາກແຕງແຊບໆ

ไปเก็บผักกูดมาชุบกินกับสาวอาข่า&สาวมูเชี

ทำเมนูไข่มดแดงสไตล์ สาวดอย

ไปเดินป่าเจอเหล็กในสมัยโบราณ-อาข่าน้อย

หลังเลีกสอนมาขี่โล้ชีงช้านำนักเรียนมื้ที1- AKHA ZAMI

ไปรับคุณยายอยู่สวนแต่เจอ.....?

ปักเบ็ดตามทุ่งนา เหยื่อเด็ด ตั้งเเคมป์กินข้าวป่า / บ้านนอก EP.367

บุกคุกร้างกลางป่าลืกคนเดียวโคตรน่ากลัว-AKHA NOI

มาดูความน่ารักของกระรอกและนกแก้วที่เลี้ยงไว้หน้าบ้าน-AKHA NOI

วิธีเอาไข่มดแดงของคนดอย//ວີທີເອົາໄຂ່ມົດແດງ

ปลูกกล้วยน้ำว้ากับคุณแม่วันนี้🌿

เข้าป่าหาอาหารเจอสิ่งนี้มันคือไข่อะไรกัน[AKHA NOI]

เดินเที่ยวป่าตอนกลางคืนบอกเลยโคตรสนุก-AKHA NOI

บุกถ้ำอาณาจักรแห่งค้างคาว-AKHA NOI

หลายปีก่อนผมเคยช่วยน้องผู้หญิงคนนึงจากการโดนรุมโทรม.![AKHA NOI]

เข้าป่าหาจับปลาทำอาหารเมนูคนดอยกินกับเพื่อนๆ//ຫາປາກິນເຂົ້າປ່າກັບໝູ່

ไปดูการเลี้ยง เป็ด,ไก่, ปลา อยู่สวนคุณยาย ชีวิตพอเพียง #AKHAZAMI

Preserving Food from the Garden | Canning & Fermenting

อาชีพ แม่ค้าขายปี้งเอ็น เจ้นวนทอง น้องลีนดา

หาหน่อขม ครั้งแรกในรอบ1ปี เรี่มออกแล้ว//ຫາຫນໍ່ຂົມ

เข้าป่าหาหน่อไม้กับเด็กๆในหน้าฝน🌱🌱// ເຂົ້າປ່າຫາໜໍ່ໄມ້ໃນລະດູຝົນ

ขุดมันเพื่อเตรียมงานแต่ง!ກະກຽມງານດອງ

ต้มเพี้ยกระรอก ฝีมือลินดาสาวบ้านโพนงาม

สาวอาข่า ตัด ดอกแขมขาย เพื่อชื้อเกลือ

น้ำพริกกากหมู ฝีมือลีนดาสาวบ้านโพนงาม

ไปเก็บชาและทำแห้งสูดอาข่าไว้ขายตอนด่านเปีดให้กับชาวจิน

7 Day Catch & Cook Survival Challenge - Maine, The Movie

เทศกาลปีใหม่ไข่แดงของชาวอาข่า-AKHA NOI

ทำไมวัดที่เวียดนาม ถึงเหมือนประเทศจีน...? พาเที่ยววัดทำบุญกับสาวดอย Meeto

Ep:35 กินข้าวซอยอาหารพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงของแขวงบ่อแก้ว กับผู้บ่าวลื้👍

แม่แก่ไล่ยุง555 เอาเรื่องเลย

ตามติดชีวิตเด็กชาวเขาในลาว,เข้าป่าดักหนูหลังเลิกเรียนได้เยอะมาก..![AKHA ...

Ep:36 เก็บชาไปขายกับน้องชาย รถแต๋กแต้กส้างฝัน🌿🍃

เที่ยวริมโขงชายแดนลาว-พม่ากับสาวๆอาข่า(AKHA NOI)

วิธีทำเนื้อควายแดดเดียวแห้งไว้กินได้นานหลายเดือนแบบชาวดอย

ขุดแทบตายฟ้าเอ๋ย...ไม่ได้อะไรเลย

EP:49 กินข้าวกับเพื่อนสองคนในงบ 27,000พันกีบ💸อิ่มเกินบรรยาย(เมนูอะไรเอ๋ย...

ผ่ามะพร้าวไม่ใช่เรื่องง่าย[Akhalaos]

แกงหน่อขม ตามสไตล์คนดอย

Ep:42 กินเงาะป่าสดๆจากต้น(กับสาวดอย)🍒🍎🍉🍅🍑

ประวัติ พระพากุลเถระ

 



ประวัติ พระพากุลเถระ

พระพากุลเถระ นามเดิม พากุล แปลว่า คนสองตระกูลบิดา และมารดาไม่ปรากฏนาม เป็นเศรษฐีชาวเมืองโกสัมพี เมื่อพระพากุละเกิดได้ ๕ วัน มีการทำมงคล โกนผมไฟและตั้งชื่อ พี่เลี้ยงได้พาไปอาบน้ำที่ท่าน้ำแม่น้ำคงคา ปลาได้กินทารกนั้น แล้วแหวกว่ายไปตามแม่น้ำ แต่เด็กนั้นเป็นผู้มีบุญ ทางศาสนาเรียก ปัจฉิมภวิกสัตว์ แปลว่า ผู้เกิดในภพสุดท้าย ถ้ายังไม่บรรลุพระอรหัตทำอย่างไรก็ไม่ตาย ปลานั้นว่ายไปตามแม่น้ำ ไปติดข่ายของชาวประมงในพระนครพาราณสี ชาวประมงนั้นจึงนำเอาปลานั้นไปขาย ในที่สุดเศรษฐีชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่ง ได้ซื้อเอาไว้ เมื่อแหวะท้องปลา ก็พบทารกน่ารักเพศชายนอนอยู่ เพราะเศรษฐีนั้นไม่มีบุตร และธิดา จึงรู้สึกรักเด็กนั้นมาก ได้เลี้ยงดูไว้อย่างดี

ครั้นต่อมา เศรษฐีผู้เป็นบิดา และมารดาเดิมได้ทราบเรื่องนั้น จึงไปยังบ้านของเศรษฐีชาวพาราณสี พบเด็กจำได้ว่า เป็นลูกของตน จึงได้ขอคืน แต่เศรษฐีชาวพาราณสีไม่ยอม เมื่อตกลงกันไม่ได้จึงถวายฎีกาต่อพระเจ้าพาราณสี พระองค์จึงทรงวินิจฉัยให้ตระกูลทั้งสองผลัดเปลี่ยนกันเลี้ยงเด็กนั้นคนละ ๔ เดือน เด็กนั้นค่อยๆ เติบโตขึ้นโดยลำดับ

มูลเหตุของการบวชในพระพุทธศาสนา เมื่อพระศาสดาเสด็จไปประกาศพระพุทธศาสนาในพระนครพาราณสี พากุลเศรษฐีพร้อมด้วยบริวารได้พากันไปเฝ้า แล้วได้ฟังพระธรรมเทศนา เกิดศรัทธาเลื่อมใส จึงได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระศาสดาทรงประทานให้ตามประสงค์

การบรรลุธรรมของพระพากุละ ครั้นบวชในพระพุทธศาสนาแล้ว ตั้งใจรับฟังพระโอวาทจากพระศาสดา ไม่ประมาท พากเพียรภาวนา เจริญวิปัสสนากรรมฐาน เพียง ๗ วัน ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล เป็นพระขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์

งานประกาศพระศาสนาของพระพากุลเถระ ครั้นบรรลุพระอรหัตผลจบกิจส่วนตัวของท่านแล้ว ก็ได้ช่วยพระศาสดาประกาศพระพุทธศาสนา ในฐานะเป็นพระเถระผู้ใหญ่ ท่านเป็นผู้ที่มีอายุยืนที่สุด บวชเมื่ออายุ ๘๐ ปี เป็นพระอีก ๘๐ พรรษา ตามนี้ท่านจึงต้องมีอายุ ๑๖๐ ปี ตำนานกล่าวว่า ท่านไม่มีโรคภัยเบียดเบียน ไม่ต้องฉันยารักษาโรคเลย ที่เป็นเช่นนี้ เพราะท่านได้สร้างเว็จจกุฎีถวายสงฆ์ และได้บริจาคยาให้เป็นทาน ท่านเป็นพระรูปหนึ่งในจำนวน ๕๐๐ รูป ที่เข้าร่วมสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก

เอตทัคคะ เพราะพระพากุลเถระ เป็นผู้ที่มีโรคน้อย และมีอายุยืนดังกล่าวมา พระศาสดาจึงทรงตั้งท่านไว้ในเอตทัคคะว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีโรคาพาธน้อย

บุญญาธิการ พระพากุลเถระนี้ ก็ได้สร้างสมบุญญาธิการอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมานาน ในกาลแห่งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในเอตทัคคะว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีโรคาพาธน้อย อยากได้ตำแหน่งเช่นนั้นบ้าง จึงได้สร้างบุญกุศลอันจะอำนวยผลให้เป็นเช่นนั้น แล้วตั้งความปรารถนา พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่า จะสำเร็จสมปณิธานในพุทธกาลแห่งพระสมณโคดม และก็ได้สมจริงทุกประการ

 

ธรรมวาทะ ผู้ผลัดวันประกันพรุ่ง ย่อมทำลายเหตุแห่งความสุข และย่อมเดือดร้อนในภายหลัง บุคคลพูดอย่างไรพึงทำอย่างนั้น อย่าเป็นคนพูดอย่างทำอย่าง เพราะบุคคลผู้พูดอย่างทำอย่าง ผู้รู้ย่อมดูหมิ่นได้ พระนิพพานอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ไม่มีความโศก ไม่มีธุลี คือ กิเลส เกษม (ไม่ถูกกิเลสรบกวน) ดับความทุกข์ทั้งสิ้น เป็นสุขที่แท้จริง

นิพพาน พระพากุลเถระ ครั้นได้สำเร็จอรหัตผลแล้ว ได้ปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์แก่พระศาสนา และชาวโลกจนถึงอายุขัยของท่าน แล้วได้นิพพานจากไป ตามตำนานกล่าวว่า ก่อนนิพพานท่านได้เข้าเตโชสมาบัติ นั่งนิพพานในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ เมื่อนิพพานแล้วไฟได้ไหม้สรีระร่างของท่านหมดไป ณ ที่นั้น

-------------------------------------------------

เอกสารและสิ่งอ้างอิง

 

คณาจารย์เลี่ยงเชียงจงเจริญ. วิชาอนุพุทธประวัติ ๘๐ องค์ ฉบับสมบูรณ์, พ.ศ.๒๕๔๓.

https://sites.google.com/site/dmamatri/

 

 

Ep:34 หว่านกล้าตามฤดูกาลของชาวดอย🍃🌱🍀(กับสาวอาข่า😊)

เคี้ยหมาก:กินหมาก วิถีชีวิตของแม่หญิงชนเผ่าอาข่า

โลกโกลาหลหนัก 14/8/2021

ถ่างสวนไม้ขี้เหล็ก และตัดเป็นไม้ฟืน [Akhalaos]

ไปขุดขีงและเก้บผัก กับคุณแม่ บนดอยอากาศดีมาก

เข้าป่าหากินตามชีวิดคนดอย/ເຂົ້າປ່າຫາກີນ

ไปเที่ยวหมู่บ้านชนเผ่าลาหู่สาวๆต้มไก่สู่กิน-AKHA NOI

ไปเอาวัวที่ฝากไว้สวนลุงหลังจากประสมพันธุ์สำเร็จ

ไปเที่ยวหมู่บ้านชนเผ่าลาหู่สาวๆต้มไก่สู่กิน-AKHA NOI

Repair BROKEN Bail Arm for CAT 637 Scraper | Part 1

ผู้สาวเลี้ยงแบ้ (มีโต๋สาวอาข่า)

หนีcovid19 มาใช้ชีวิตอยู่ในป่า1วัน,หาของป่ามาทำอาหาร-AKHA NOI.

Ep:8 มาขูดชายแดนกับน้องชาย🤼

โรงงานอิฐอัตโนมัติของเกาหลีที่ทำรายได้ 100,000 ชิ้นต่อวัน

Ep:27 เทศกาลไข่แดงของชนเผ่าอาข่า(วันนี้อยู่กับแม่♥️)

ไก่อบฟางจากป่าจะกินได้ไหมหนอ[AKHA NOI]

พิธีปลูกสร้างประตูหมู่บ้านชนเผ่าอาข่า-AKHA NOI

Ep:40 กักตัวหนีCovit19วันแลกของสาวๆทีเวียดนาม🇻🇳ยังกักอีก13วัน สู้ๆ✌️✌️

Incríveis Máquinas e Ferramentas mais satisfatórias de se ver - Amazing ...

Ep:43 กักตัว14วัน ที่เวียดนาม🇻🇳ต้องเจอกับอะไรบ้างไปดูกัน🇻🇳

Incrível Processo de fabricação de Rodas Ferroviárias Pesadas e outros M...

🥙กับข้าวบนดอยธรรมดาๆ ที่เลี้ยงเรามาจนโตจนมาเป็นคนดีในสังคม และอร่อยที่สุ...

Amazing steel wheel production & other heavy truck wheel manufacturing p...

ตามติดชีวิตในแต่ละวัน สาวอาข่า🇱🇦//ຕາມຕິດຊີວິດແຕ່ລະວັນຂອງສາວອາຄາ

Ep:10 อยู่สวนอยู่ป่าคือเก่าพี่น้อง🙋

ลาบปลานีลสูตรอาข่าน้อยกินอี่มทั้งครอบครัว

Modern Razor Blades Production Process & Other Amazing Manufacturing Met...

พิธีกล่าวบอกให้เจ้าถี่นนาไร่ให้ดูแลข้าวนาไร่สวยและได้รับผลเยอะ(ตามประเพณ...

วิถีชีวิตเรียบง่ายของสาวดอย ปลูกผักผลไม้เอง

มาเอาข้าวโพดหรือข้าวสาลีที่สวนแล้วหนื่งไปขายแลกเกลือค่ะ

วิถีชีวิดของสาวดอยเข้าป่าหาหน่อไม้เพื่อจะมาทำเป็นอาหาร

สหรัฐแตก! ⚠️ พายุโซนร้อนเฟร็ดพัดถล่มฟลอริดา

กลับสู่ธรรมชาติ1วัน มาดูน้ำไหลจากรูถ้ำสวยงามมาก🌵🍀🌱☘️🌄

41 พวงดีจัดใครทำเก็บเกี่ยวช่วงนี้ไร่ละเกวียนสบายๆ

ใช้เงินบาทซื้อของอยู่ชนบทลาวเขาจะเอาไหมไปลองดู-AKHA NOI

กางเต้นท์นอนในป่าลึก 1 คืน หาอาหารจากธรรมชาติมาทำกิน-AKHA NOI

ชีวิตที่คนในเมื่องหาไม่ได้//ຊິວິດທີ່ຄົນໃນເມືອງຫາບໍ່ໄດ້

ตามล่าเต่าภูเขาตอนกลางคืน[AKHA NOI]

30년 국밥팔아 빌딩 두채 샀다는 국밥집? 기술 배워간 사람만 100명! 소문난 순대국 왕족발집┃Sundae rice soup, ...

เอาชีวิตรอดในป่าริมโขงชายแดนพม่า

3 Days Solo Survival Camping An Island, NO WATER, NO FOOD, NO SHELTER - ...

พิธีบูชาข้าวนาแบบชนเผ่าอาข่า ไม่เชื่ออย่าลบหลู่??

3 Days Solo Survival Camping An Island, NO WATER, NO FOOD, NO SHELTER - ...

พาเจ้าบุญรอดเข้าป่าหนีโควิด.[AKHA NOI]

ให้อาหารลีงน้อยกับแม่อ้นลูกอ่อน[AKHA NOI]

ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก

 


ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก ( คำแปลอยู่ด้านล่าง )

ยอดพระกัณฑ์ฉบับนี้ ได้มาจากต้นฉบับเดิมที่จารไว้บนใบลานเป็นอักษรขอมซึ่ง เปิดกรุครั้งแรกที่เมืองสวรรคโลก มีบันทึกเอาไว้ว่าผู้ใดสวดมนต์เป็นประจำทุกเช้าเย็น จะป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ได้รอบด้าน ภาวนาพระคาถาอื่นสัก ๑๐๐ปีก็ไม่เท่ากับอานิสงส์ของการสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกนี้เพียงครั้งเดียว ผู้ใดที่สวดครบ ๗ วัน หรือครบอายุปัจจุบันของตัวเอง จะมีโชคลาภ ทำมาค้าขายรุ่งเรือง ปราศจากภัยพิบัติทั้งปวงก่อนสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฏก พึงคุกเข่าพนมมือตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย นมัสการพระรัตนตรัย นมัสการพระพุทธเจ้า นมัสการพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณขอให้ตั้งจิตมั่นในบทสวดมนต์จะมีเทพยดาอารักษ์ทั้งหลายร่วมอนุโมทนาสาธุการ อย่าได้ทำเล่นจะเกิดโทษแก่ตัว



คำบูชาพระรัตนตรัย

โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ
โย โส สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ


นมัสการพระพุทธเจ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

๑. พุทธคุณ

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ

๒. ธรรมคุณ

สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ


๓. สังฆคุณ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ


ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกมีดังนี้

๑.

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วัจจะโส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วัจจะโส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน วัจจะโส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วัจจะโส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วัจจะโส ภะคะวา

๒.

อะระหัง ตัง สะระณัง คัจฉามิ

อะระหัง ตัง สิระสา นะมามิ

สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ

วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ

สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ

สุคะตัง สิระสา นะมามิ

โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ

โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ

๓.

อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วัจจะโส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะธัมมะสาระถิ วัจจะโส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วัจจะโส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วัจจะโส ภะคะวา

๔.

อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ

อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ

ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ

ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ

สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ

สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

พุทธัง สิระสา นะมามิ

      ๕.

อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิ โส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา

อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
อิติปิ โส ภะคะวา

๖.

อิติปิ โส ภะคะวา ปะถะวีจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา เตโชจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา วาโยจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา อาโปจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๗.

อิติปิ โส ภะคะวา ยามาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระติธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๘.

อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมาฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๙.

อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะเนวะสัญญานา สัญญายะตะนะอะรูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ เนวะสัญญานา สัญญายะตะนะอะรูปาวะ จะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญานา สัญญายะตะนะ อะรูปาวะ จะระธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๐.

อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปะฏิมัคคะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๑.

อิติปิ โส ภะคะวา โสตาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน

๑๒.

กุสะลา ธัมมา อิติปิ โส ภะคะวา อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ชมพูทีปัญจะอิสสะโร

กุสะลา ธัมมา นะโม พุทธายะ นะโม ธัมมายะ นะโม สังฆายะ ปัญจะ พุทธา นะมามิหัง

อา ปา มะ จุ ปะ

ที มะ สัง อัง ขุ

สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ

อุ ปะ สะ ชะ สุ เห ปา สา ยะ

โส โส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิ

เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว

อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ ภุ พะ

อิ สวา สุ สุ สวา อิ

กุสะลา ธัมมา จิตติวิอัตถิ

๑๓.

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง

อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

สา โพธิ ปัญจะ อิสาะโร ธัมมา

๑๔.

กุสะลา ธัมมา นันทะวิวังโก อิติ สัมมาพุทโธ สุ คะ ลา โน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ จาตุมะหาราชิกา อิสสะโร

กุสะลา ธัมมา อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน อุ อุ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตาวะติงสา อิสสะโร

กุสะลา ธัมมา นันทะ ปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ยามา อิสสะโร

กุสะลา ธัมมา พรหมมาสัททะ ปัญจะ สัตตะ สัตตาปาระมี อะนุตตะโร ยะมะกะขะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๕.

ตุสิตา อิสสะโร

กุสะลา ธัมมา

ปุ ยะ ปะ กะ

ปุริสะทัมมะสาระถิ

ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๖.

นิมมานะระติ อิสสะโร

กุสะลา ธัมมา เหตุโปวะ สัตถา เทวะมะนุสสานัง ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๗.

ปะระนิมมิตะ อิสสะโร

กุสะลา ธัมมา สังขาระขันโธ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ พุทธะปะผะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

๑๘.

พรหมมา อิสสะโร

กุสะลา ธัมมา นัจจิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ พุทธิลา โลกะลา กะระกะนา เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ

๑๙.

นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ

วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ

อัตติ อัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ

หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

๒๐.

อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง

พรหมะสาวัง มะหาพรหมะสาวัง

จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง

เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง

อิสิสาวัง มะหาอิสิสาวัง

มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง

สัปปุริสาวัง มะหาสัปปุริสาวัง

พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง

อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกา

อิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ

๒๑.

สาวัง คุณัง วะชะพะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง นิพพานัง

โมกขัง คุยหะกัง

ถานัง สีลัง ปัญญานิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ตัปปัง สุขัง

สิริรูปัง จะตุวีสะติเสนัง

เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ

หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

๒๒.

นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ

ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ

สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ

นะโม อิติปิโส ภะคะวา

๒๓.

นะโม พุทธัสสะ

ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ

สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ

นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

๒๔.

นะโม ธัมมัสสะ

ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ

สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ

นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม

๒๕.

นะโม ธัมมัสสะ

ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ

สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ

นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

๒๖.

นะโม สังฆัสสะ

ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ

สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ

นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง

๒๗.

นะโม พุทธายะ มะอะอุ

ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา

ยาวะ ตัสสะ หาโย

นะโม อุอะมะ

ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา

อุ อะมะ อาวันทา

นะโม พุทธายะ

นะ อะ กะ ติ นิ สะ ระ นะ

อา ระ ปะ ขุ ธัง มะ อะ อุ

ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา




พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก (แปล)

๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้รู้แจ้งโลก

๒. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เองโดยชอบว่า เป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ทรงตรัสรู้เอง ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้รู้แจ้งโลก ด้วยเศียรเกล้า

๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นอนุตตะโร คือ ยอดเยี่ยม

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ตื่นจากกิเลส

๔. ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ยอดเยี่ยม ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยเศียรเกล้า

ข้าพเจ้าขอถึงพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ว่าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระองค์ผู้ตื่นจากกิเลส ด้วยเศียรเกล้า

๕. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น รูปขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เวทนาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สัญญาขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สังขารขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น วิญญาณขันธ์ เป็นอนิจจลักษณะ แต่พระบารมีถึงพร้อมแล้ว

๖. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ดินจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ไฟจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ลมจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ น้ำจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ อากาศจักรวาล เทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์

๗. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นยามา

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นดุสิต

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ สวรรค์ชั้นนิมมานรดี

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในกามาวจรภูมิ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในรูปาวจรภูมิ

๘. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปฐมญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ทุติยญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ตติยญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ จตุตถญาน

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ ปัญจมญาน

๙. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากาสานัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ วิญญาณัญจายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ อันเป็นไปในอรูปาวจรภูมิ คือ อากิญจัญญายตนะและเนวสัญญานาสัญญายตนะ

๑๐. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติมรรค

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิมรรค

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิมรรค

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอรหัตตมรรค

๑๑. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระโสดาปัตติผล และ พระอรหัตตผล

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระสกิทาคามิผล และ พระอรหัตตผล

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงถึงพร้อมด้วยธรรมที่เป็นธาตุ คือ พระอนาคามิผล และ พระอรหัตตผล

๑๒. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นอิสสระแห่งชมภูทวีป

ธรรมะฝ่ายกุศล ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ด้วยหัวใจพระวินัยปิฎก ด้วยหัวใจพระสุตตันตปิฎก ด้วยหัวใจพระอภิธรรมปิฎก

ด้วยมนต์คาถา ด้วยหัวใจมรรคสี่ ผลสี่ และ นิพพานหนึ่ง ด้วยหัวใจพระเจ้าสิบชาติทรงแสดงการบำเพ็ญบารมีสิบ

ด้วยหัวใจพระพุทธคุณเก้า ด้วยหัวใจพระไตรรัตนคุณ ธรรมะฝ่ายกุศล มีนัยอันวิจิตรพิสดาร

๑๓. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

๑๔. ธรรมะฝ่ายกุศล ของผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงเทวโลกชั้นจาตุมหาราชิกา

ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ธรรมะฝ่ายกุศล พระพุทธเจ้าเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นยามา

ธรรมะฝ่ายกุศล ด้วยความศรัทธาต่อพระพรหม ด้วยพระบารมีอันยอดเยี่ยมของพระโพธิสัตว์ทั้งห้า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

๑๕. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นนายสารถีผู้ฝึกบุรุษ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นดุสิต

๑๖. ธรรมะฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นนิมมานรดี

๑๗. ธรรมฝ่ายกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้รู้แจ้ง สังขารขันธ์ รูปขันธ์ เป็นของไม่เที่ยง เป็นความทุกข์ มิใช่เป็นตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นปรนิมมิตตวสวัสดี

๑๘. ธรรมะฝ่ายกุศล ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต เป็นอิสสระถึงสวรรค์ชั้นพรหมโลก ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่งตราบเข้าสู่พระนิพพาน

๑๙. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า ด้วยการสวดมนต์พระคาถานี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๐. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๑. ด้วยการสวดพระคาถามหาทิพมนต์นี้ และด้วยการกล่าวคำสัตย์ปฏิญาณนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด

๒๒. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

๒๓. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ผู้เข้าถึงรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

๒๔. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

๒๕. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระธรรมเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว

๒๖. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระสังฆเจ้า รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว

๒๗. ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยคำสอนของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้า ด้วยพระธรรมคำสั่งสอน ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตนของเราจริง

-------------------------------------------

 

โลกทัศน์ทางพุทธศาสนา

Amazing🤩 Our Second Day We Stay In The Deep Sea And Caught Lot Of Tuna F...#HTML