ไวพจน์ของนิพพาน

 

ไวพจน์ของนิพพาน

คำว่า “ไวพจน์” มาจากภาษาบาลีว่า “เววจน” แปลว่า คำที่มีรูปต่างกันเหมือนกัน แต่ความหมายเหมือนกัน ....(พระอุดมคณาธิการ (ชวินทร์  สระดำ), รศ.ดร.จำลอง  สารพัดนึก. 2530 : 775)

 

ไวพจน์ของนิพพานและความหมาย

ไวพจน์ของนิพพานและความหมาย

๑. นิพฺพาน ออกจากเครื่องร้อยรัด คือ ตัณหา

๒. อชาตํ ไม่เกิด

๓. อนุตฺตรํ ไม่มีอะไรยิ่งกว่า

๔. โยคกฺเขมํ ธรรมอันเกษมจากโยคะ

๕. อชรํ ไม่แก่

๖. อพฺยาธิ อัศจรรย์

๗. อมตํ ไม่ตาย

๘. อโสกํ ไม่มีความโศก

๙. อกิสิฏฺฐํ ไม่เศร้าหมอง

๑๐. สนฺติวรปทํ ทางสงบระงับอันประเสริฐ[1]

๑๑. คมฺภีโร ลุ่มลึก

๑๒. ทุทโส เห็นได้โดยยาก

๑๓. ทุรนฺโพโธ รู้ตามได้ยาก

๑๔. สนฺโต เป็นธรรมสงบ

๑๕. ปณีโต เป็นธรรมประณีต

๑๖. อตกฺกาวจโร อันความตรึกหยั่งไม่ถึง(คิดเอาไม่ได้)

๑๗. นิปฺโณ เป็นธรรมละเอียด

๑๘. ปณฺฑิตเวทนีโย รู้ได้แต่บัณฑิต

๑๙. สพฺพสงฺขารสมโถ เป็นธรรมที่สงบสังขารทั้งปวง

๒๐. สพฺพูปธิปฏินิสฺสตฺโต เป็นธรรมสลัดอุปธิทั้งปวง

๒๑. ตณฺหกฺขโย เป็นที่สิ้นตัณหา

๒๒. วิราโค ความสิ้นราคะ

๒๓. นิโรโธ ความดับ

๒๔. ปฏิโสตคามี ความทวนกระแสโลก[2]

๒๕. สีติภูโต เป็นธรรมเย็น

๒๖. นิพฺพุโต ดับกิเลส

๒๗. วิมุตฺโต พ้นจากกิเลส

๒๘. อนูปวิตฺโต เป็นธรรมอันตัณหาไม่ติด

๒๙. อนนุตชิโน เป็นธรรมที่ชนะอันยิ่งใหญ่[3]

๓๐. อสงฺขตํ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง [4](ไม่มีราคะ,โทสะ,โมหะ)

๓๑. อนตํ ที่สุด[5] (ไม่มีตัณหาเครื่องร้อยรัด)

๓๒. อนาสวํ ธรรมอันหาอาสวะมิได้(ไม่มีอาสวะ)

๓๓. สจฺจํ ธรรมที่จริงแท้(เป็นปรมัตถะสัจจ์)

๓๔. ปารํ ธรรมอันเป็นฝั่ง(ฝั่งตรงข้าม)

๓๕. ธุวํ ธรรมอันเป็นยั่งยืน มั่นคง

๓๖. อปโลกินํ ธรรมอันไม่ทรุดโทรม

๓๗. อทิสฺสนํ ธรรมไม่เห็นด้วยจักขุวิญญาณ(ไม่เห็นด้วยตา)

๓๘. นิปฺปปญฺจํ ธรรมอันไม่มีกิเลสเครื่องให้เนิ่นช้า(ไม่มีเครื่องถ่วง)

๓๙. สิวํ ธรรมอันเยือกเย็น

๔๐. เขมํ ธรรมอันปลอดภัย

๔๑. อจฺฉริยํ ธรรมอันอัศจรรย์

๔๒. อพฺภูตํ ธรรมอันไม่เคยมีเคยเป็น(ไม่เกิด)

๔๓. อนีติกํ ไม่มีทุกข์

๔๔. อนีติกธมฺมํ ธรรมอันหาทุกข์มิได้

๔๕. อพฺยาปชฺฌํ ธรรมอันหาความเบียดเบียนมิได้

๔๖. สุทฺธิ ความบริสุทธิ์

๔๗. อนาลโย ธรรมอันหาความอาลัยมิได้

๔๘. ทิปํ ที่พึ่ง

๔๙. เลณํ ที่หลีกเร้น

๕๐. ตาณํ ที่ต้านทาน

๕๑. อชชฺชรํ ไม่คร่ำคร่า

๕๒. สรณํ เป็นที่กำจัดภัย[6]

๕๓. ปรายนํ ธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า[7] (ฝั่งอื่น)

๕๔. มทนิมฺมทโน ธรรมอันย่ำยีความเมา

๕๕. ปิปาสวินโย ธรรมเครื่องกำจัดความกระหาย

๕๖. อาลยสมุคฺฆาโต ความถอนเสียซึ่งความอาลัย

๕๗. วฏฺฏปจฺเฉโท ความเข้าไปตัดวัฏฏะ[8]

๕๘. สนฺทิฏฐิโก ธรรมที่บุคคลพึงเห็นได้เอง

๕๙. อากาลิโก เป็นธรรมที่ไม่ประกอบด้วยกาล

๖๐. เอหิปสฺสสิโก เป็นธรรมที่ควรเรียกให้มาดู

๖๑. โอปนยิโก เป็นธรรมที่ควรน้อมเข้าในตน

๖๒. ปจฺจตฺตํ เป็นธรรมที่วิญญูพึงรู้แจ้งได้เฉพาะตน[9]

๖๓. ทุกฺกรํ เป็นสมณธรรมอันบุคคลทำได้ยาก

๖๔. ทุลฺลภํ เป็นธรรมที่ได้โดยยาก

๖๕. ทุกฺกโม เป็นธรรมที่ไปยาก

๖๖. สโม เป็นทางที่เสมอสำหรับพระอริยะเจ้า[10]

๖๗. วิรชํ เป็นธรรมที่ปราศจากธุลี

๖๘. อกมฺปกา ไม่หวั่นไหว[11]

๖๙. อสฺพาโธ ไม่คับแคบ

๗๐. อเวโร ไม่มีเวร

๗๑. อสปตฺโต ไม่มีศัตรู[12]

๗๒. อนาตฺรา ไม่มีความเร่าร้อน

๗๓. อนุสฺสุกา ไม่มีความขวนขวาย

๗๔. อกิญฺจนํ ไม่มีกิเลสชาติเครื่องกังวล

๗๕. อุปสนฺโตเป็นธรรมที่เข้าไปสงบ

๗๖. สนฺติปรํ ยิ่งกว่าความสงบ

๗๗. ปรมสุขํ สุขอย่างยิ่ง

๗๘. อาโรคฺยา ไม่มีโรค

๗๙. นิปฺปโป ไม่มีบาป[13]

๘๐. อนกฺขาตํ บอกกันไม่ได้(ต้องปฏิบัติเอง)

๘๑. อุทฺธํโสโต มีกระแสในเบื้องบน[14]

๘๒. อหีสกา ไม่มีการเบียดเบียน

๘๓. อุจฺจตํ สถานที่ไม่มีจุติ

๘๔. อตฺถํ ความไม่มี(ไม่มีอาสวะ)[15]

๘๕. อนงฺคโณ ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน[16]

๘๖. วนฺตมโล มีมลทินอันคลาย[17]

๘๗. อนีโฆ ไม่มีทุกข์[18]

๘๘. ขีณาพีชา มีพีชสิ้นแล้ว[19]

๘๙. ปารคู ผู้ถึงฝั่ง[20]

๙๐. วิโมกฺโข ความหลุดพ้น[21]

๙๑. อุชู เที่ยงตรง[22]

๙๒. ถาวโร มั่นคง[23]

๙๓. อปฺปมาโณ ไม่มีประมาณ[24]

๙๔. อรูโป ไม่มีรูป[25]

๙๕. ตาทิโส คงที่[26]

๙๖. อเนโช ไม่หวั่นไหว[27]

๙๗. นิราโส หมดความหวัง[28]

๙๘. อนุปาทา ไม่ยึดมั่น[29]

๙๙. อภิภูโต ครอบครัว[30]

๑๐๐. อุปธิวิเวโก สงัดจากตัณหาเครื่องร้อยรัด[31]

 

ภิกษุ ท. เราจักแสดง ซึ่ง นิพพาน แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอทั้งหลาย จงฟังความข้อนั้น.

ภิกษุ ท. นิพพาน เป็นอย่างไรเล่า ?

ภิกษุ ท. ความสิ้นไปแห่งราคะ, ความสิ้นไปแห่งโทสะ, ความสิ้นไปแห่งโมหะ, อันใด ;

ภิกษุ ท. อันนี้แล เราเรียกว่า นิพพาน.

 

- สฬา. สํ. ๑๘/๔๕๒/๗๔๑

 (พระพรหมคุณาภรณ์  ปยุตฺโต, ๒๕๔๙. พุทธธรรมกับปรัชญาการศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์. นนทบุรี : เอส อาร์ พริ้นติ้ง.หน้า ๒๓๔-๒๓๕.อ้างใน พระครูสุธรรมนาถ  ศรีศรทอง. การวิเคราะห์บริบทของอนัตตาที่เป็นปัจจัยให้บรรลุนิพพาน : กรณีศึกษาจากพระไตรปิฎก. มหาวิทยาลัยศิลปากร,๒๕๕๑. หน้า ๒๗-๒๘.)

พระอุดมคณาธิการ (ชวินทร์  สระดำ), รศ.ดร.จำลอง  สารพัดนึก.  พจนานุกรมบาลีไทย ฉบับนักศึกษา, 2530.พิมพ์ครั้งที่ 2 ,กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ประเภทของนิพาน

พระพรหมคุณาภรณ์  ปยุตฺโต (๒๕๔๙ : ๒๖๒) ได้จำแนกประเภทของนิพพานไว้ดังนี้

จำแนกตามอุปาทิ (ขันธ์ ๕)

๑. สอุปาทิเสสนิพพาน = นิพพานธาตุมีอุปาทิ (มีขันธ์ ๕) เหลือ

๒. อนุปาทิเสสนิพพาน = นิพพานธาตุไม่มีอุปาทิ (ไม่มีขันธ์ ๕) เหลืออยู่

ประเภทและระดับของผู้บรรลุนิพพาน

๑. เพราะสำรอกอวิชชา ได้ชื่อว่า ปัญญาวิมุตติ

๒. เพราะสำรอกราคะ ได้ชื่อว่า เจโตวิมุตติ

ในอรรถกถาจัดเป็น ๒ ประเภท คือ

๑. ปัญญาวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยปัญญา

๒. เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะ

ผู้ได้ทั้ง ปัญญาวิมุตติและเจโตวิมุตติ เรียกว่า อุภโตภาควิมุตติ

ในอรรถกถายังจัดเป็น ๔ ประเภท คือ

๑. สุขวิปัสสโก มีสุขแบบแห้งแล้ง

๒. เตวิชโช ได้วิชชา ๓ คือ

๒.๑ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้

๒.๒ จุตูปปาตญาณ รู้ความเกิดและดับของสัตว์

๒.๓ อาสวักขยญาณ รู้ความที่อาสวะสิ้นไป

๓. ฉฬภิญโญ ได้อภิญญา ๖ คือ

๓.๑ อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้

๓.๒ ทิพพโสต หูทิพย์

๓.๓ เจโตปริยญาณ กำหนดใจคนอื่นได้

๓.๔ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้

๓.๕ ทิพพจักษุ ตาทิพย์

๓.๖ อาสวักขยญาณ ทำให้อาสวะสิ้นไป

๔. ปฏิสัมภิทัปปัตโต ได้ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ คือ

๔.๑ อัตถปฏิสัมภิทา มีความแตกฉานในเรื่องเหตุ

๔.๒ ธัมมปฏิสัมภิทา มีความแตกฉานในเรื่องผล

๔.๓ นิรุตติปฏิสัมภิทา มีความแตกฉานในเรื่องภาษา

๔.๔ ปฏิภานปฏิสัมภิทา มีความแตกฉานในปฏิภาน

ลักษณะสำคัญ ๓ อย่างแห่งนิพพาน

๑. ดับอวิชชา (ความไม่รู้) เพราะดับอวิชชาสังโยชน์ (เครื่องผูกสัตว์ไว้ในภพ คือ ความไม่รู้) ได้จึงกล่าวได้ว่า นิพพาน

๒. ดับกิเลส กิเลส คือ สังโยชน์นั้นต้องดับหมดจึงจะนิพพาน

๓. ดับทุกข์ เบญจขันธ์ (ขันธ์ ๕ คือ ๑. รูป ๒. เวทนา ๓. สัญญา ๔. สังขาร ๕. วิญญาณ) เป็นทุกข์ ความยินดีในเบญจขันธ์เป็นสังโยชน์

สังโยชน์นั้นดับไป เบญจขันธ์จึงดับ

เบญจขันธ์ดับ ชื่อว่า ทุกข์ดับ

ความทุกข์ดับ ชื่อว่า นิพพาน

 

 

 

 

 

 

 

 



[1] ม.มู. 12/319/225, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[2] ม.มู 12/321/226, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[3] ม.มู. 12/325/229, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[4] สํ.ส. 18/674/362, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[5] สํ.ส. 18/720/370, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[6] สํ.ส. 18/721-750/370-373, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[7] สํ.ส. 18/75/373, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[8] องฺ. จตุกฺก. 21/34/34, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[9] สํ.ส. 15/865/264, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[10] สํ.ส. 15/232-235/56-60, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[11] ขุ.ขุ. 25/6/3, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[12] ขุ.ขุ. 25/10/9, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[13] ขุ.ธ. 25/25/29-30, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[14] ขุ.ธ. 25/26/30-31, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[15] ขุ.ธ. 25/27/31-32, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[16] ขุ.ธ. 25/28/32, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[17] ขุ.ธ. 25/29/34, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[18] ขุ.ธ. 25/31/37, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[19] ขุ.ขุ. 25/7/5, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[20] ขุ.อุ. 25/44/56, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[21] ขุ.ขุ. 25/15/15, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[22] ขุ.ขุ. 25/10/9, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[23] ขุ.ข. 25/10/9, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[24] องฺ. จตุ. 21/67/72, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[25] ขุ.อุ. 25/50/60, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[26] ขุ.อุ. 25/66/74, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[27] ขุ.อุ. 25/75/80, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[28] ขุ.อุ. 25/83/86, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[29] ขุ.อุ. 25/84/88, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[30] ขุ.อุ. 25/84/88, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

[31] ขุ.มหา. 29/33/25, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง, 2525.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โลกทัศน์ทางพุทธศาสนา

Amazing🤩 Our Second Day We Stay In The Deep Sea And Caught Lot Of Tuna F...#HTML