ประวัติ พระมหากัปปินเถระ
พระมหากัปปินเถระ นามเดิม กัปปินะ
ต่อมาได้ครองราชย์จึงมีนามว่า มหากัปปินะ เป็นวรรณะกษัตริย์ พระบิดาพระมารดา
ไม่ปรากฏพระนาม เป็นเจ้าเมืองกุกกุฏวดีในปัจจันตชนบท มีชีวิตก่อนบวช เมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้ว
ก็ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อสันตติวงค์ ทรงพระนามว่า พระเจ้ามหากัปปินะ
ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงอโนชาเทวี พระราชธิดาของพระเจ้าสาคละ แห่งแคว้นมัททะ ทั้ง
๒ พระองค์ทรงสนพระทัยเรื่องศาสนา คอยสดับตรับฟังว่า ข่าวการอุบัติของ
พระพุทธเจ้าตลอดเวลา
มูลเหตุของการบวชในพระพุทธศาสนา วันหนึ่ง
ทรงทราบข่าวจากพ่อค้าชาวเมืองสาวัตถีว่า พระพุทธเจ้า พระธรรม
และพระสงฆ์อุบัติขึ้นแล้วในโลก ทรงดีพระทัยอย่างยิ่ง พร้อมกับบริวารจำนวนหนึ่ง
ได้เสด็จมุ่งหน้าไปยังเมืองสาวัตถี พระพุทธเจ้าทรงทราบข่าวการเสด็จมาของพระเจ้ามหากัปปินะ
จึงเสด็จไปรับที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา ประทับนั่งอยู่ที่โคนต้นพหุปุตตนิโครธ
ท้าวเธอพร้อมด้วยบริวารได้เสด็จเข้าไปเฝ้า ณ ที่นั้น ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและอริยสัจ
๔ ครั้นจบพระธรรมเทศนา พระราชาพร้อมด้วยบริวารได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบท
ทรงให้พวกเขาอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
การบรรลุธรรมของพระมหากัปปินเถระพร้อมกับบริวารได้บรรลุอรหัตผลก่อนบวช
หลังจากฟังอนุปุพพีกถา และอริยสัจ ๔ จบลง ครั้นบรรลุพระอรหัตผลแล้วจึงทูลขอบวช
งานประกาศพระศาสนา เมื่อบวชในพระพุทธศาสนา
และแม้จะสำเร็จพระอรหันต์แล้ว ท่านก็ไม่สอนใคร มีความขวนขวายน้อย
ต่อมาพระศาสดาทรงทราบ จึงรับสั่งให้ท่านสอนผู้อื่นบ้าง ท่านทูลรับด้วยเศียรเกล้า
ได้แสดงธรรมแก่อันเตวาสิกของท่านประมาณพันรูปให้บรรลุอรหัตผล
เอตทัคคะ พระศาสดาทรงอาศัยเหตุที่ท่านแสดงธรรมแก่อันเตวาสิกนั้น
จึงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งอันเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุ
บุญญาธิการ คือ พระมหากัปปินเถระนี้
ก็ได้ปรารถนาตำแหน่งแห่งผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุ
ในสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ได้สร้างสมความดีตลอดมา และได้สมความปรารถนาในสมัยแห่งพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย
ดังกล่าวมา
ธรรมวาทะว่า มีปัญญา แม้ไม่มีทรัพย์
ยังพออยู่ได้ ขาดปัญญา แม้มีทรัพย์ ก็อยู่ไม่ได้ ปัญญาเป็นตัวชี้ขาด
ศาสตร์ที่เรียนมาปัญญาทำให้เจริญไปด้วยเกียรติ และความสรรเสริญ
ผู้มีปัญญาย่อมได้รับความสุข แม้ในสิ่งที่คนอื่นเขาทุกข์กัน
การนิพพานของพระมหากัปปินเถระ
ทำหน้าที่ของพระสงฆ์ผู้ดำรงพระพุทธศาสนา ตามสมควรแก่เวลาของท่าน แล้วได้นิพพานจากไป
-------------------------------------------------------------
เอกสารและสิ่งอ้างอิง
คณาจารย์เลี่ยงเชียงจงเจริญ.
วิชาอนุพุทธประวัติ ๘๐ องค์ ฉบับสมบูรณ์, พ.ศ.๒๕๔๓.
https://sites.google.com/site/dmamatri/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น