เปรียบเทียบนรก-สวรรค์ในคัมภีร์พุทธศาสนาในประเทศไทย
ในปัจจุบันนี้
แม้ว่าความทันสมัยของเทคโนโลยีจะสามารถตอบสนองความต้องการด้านต่าง ๆ
ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ได้
หากแต่นั่นเป็นเพียงการสนองตอบต่อความต้องการทางร่างกายเท่านั้น
จนบางครั้งส่งผลให้จิตใจนั้นแสดงออกมาในลักษณะที่เลวร้ายมากขึ้นเป็นลำดับ
จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาจิตใจให้ควบคู่กันไปโดยอาศัยที่พึ่งต่าง ๆ เช่น
ความศรัทธาในคำสอนของศาสนาต่าง ๆ การยึดถือความเชื่อในสิ่งที่ตนเห็นว่าดี น่าพอใจ
เป็นต้น
พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
ซึ่งมีความเชื่อเรื่องกรรมหรือการกระทำ เป็นเรื่องของปัจจุบัน คือ การกระทำๆ
ให้ผลของการกระนั้นๆ ไม่ว่า กระทำดีหรือไม่ดี
ซึ่งเป็นการทำย่อมทำให้เกิดผลตามมาเสมอ อาจเป็นเหตุการณ์ช้าหรือเร็วนั้น
อยู่ที่การกระทำนั้นๆ หนักหรือเบา ผู้กระทำย่อมมีความรู้ตัว
แต่เป็นเรื่องของอารมณ์ที่มากระทบตามธรรมชาติ
ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของปุถุชนคนสามัญ เฉกเช่น มนุษย์เราทุกวันนี้
เป็นผู้ที่มีค่านิยมทางวัตถุเข้ามาครอบงำ ทำให้ลืมเรื่องของการกระทำหรือกรรม ในทางพุทธศาสนา
ในโลกนี้ก็ยังไม่เคยขาดอริยบุคคลไม่ว่ายุคใดสมัยใด โดยเฉพาะ พระมหากษัตริย์
ซึ่งเป็นผู้ปกครองที่เข้าใจในผลแห่งการกระทำ หรือผลกรรม ตามหลักพุทธศาสนา
เรื่องกรรรมนั้น พระยาลิไทย ได้ทรงกล่าวถึง นรกและสวรรค์
ซึ่งอาจอิงจากคัมภีร์หลักๆ ในทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะพระไตรปิฎก
ในวรรณกรรมที่จะกล่าวคือ ไตรภูมิพระร่วง ซึ่ง ในเรื่อง กฎแห่งกรรม
ซึ่งมีวรรณกรรมร้อยแก้วที่คนไทยรู้จักกันอย่างแพร่หลายที่สอนเรื่อง นรกและสวรรค์ คือ
ไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของพระยาลิไท
ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๑๘๘๘ โดยมีพระประสงค์ที่จะเทศนาโปรดพระมารดา
และเพื่อจำเริญพระอภิธรรมส่วนของพุทธศาสนาฝ่ายมหายานนั้น
เน้นเรื่องความเป็นพระโพธิสัตว์ ยอมทุ่มเทชีวิตช่วยเหลือเหล่าสัตว์โลกให้พ้นทุกข์
ดังคำที่กล่าวว่า ยอมตกนรกดีกว่าที่จะเห็นผู้คนเดือดร้อน
แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่ช่วยผู้ให้พ้นทุกข์ก่อนตนเองค่อยว่ากันที่หลัง
เพื่อไปสู่พุทธภูมิ ส่วนฝ่ายหีนยาน มีแนวคิดว่า ศึกษาให้เข้าใจก่อนค่อยช่วย
นี้อาจเป็นแนวคิดที่อาจขัดแย้ง แต่ไม่ได้ขัดแย้งแต่ประการใด สังเกตได้ว่า
สังคมศาสนาพุทธศาสนาปัจจุบันนี้เอนเอียงไปในฝ่ายมหายานมาก
รวมทั้งความเชื่อในแนวคิดดั่งเดิม คือ ศาสนาที่ตายไปแล้ว แต่ในส่วนนี้จะไม่กล่าวถึงนิกายเหล่านี้
ซึ่งเป็นแนวคิดที่เก่า และกว้างตามแนวคิดของฝ่ายพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และโบราณ แต่เราจะกล่าวถึงพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศไทย
ซึ่งมีคัมภีร์ทางศาสนาที่แต่งโดยพระมหากษัตริย์ ได้แก่ ไตรภูมิพระร่วงซึ่งเป็นหลักฐานชิ้นหนึ่ง
ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถอย่างลึกซึ้งในด้านพุทธศาสนาของพระมหาธรรมราชาลิไทที่ทรงรวบรวมข้อความต่าง
ๆ ในคัมภีร์พุทธศาสนา นับแต่พระไตรปิฏก อรรถกถา ฎีกา และปกรณ์พิเศษ ต่าง ๆ มาเรียบเรียงขึ้นเป็นวรรณคดีโลกศาสตร์
เล่มแรกที่แต่งเป็นภาษาไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยเท่าที่มีหลักฐานจวบจนปัจจุบันนี้
พระไตรปิฎก
การที่จะศึกษาเรื่องราวต่างๆ
เราต้องศึกษาประวัติความเป็นมาของเรื่องที่เราจะศึกษาก่อน
เพื่อความเข้าใจในบริบทของเรื่องราวแต่ละเรื่อง ในส่วนเรื่องนรกและสวรรค์ในคัมภีร์พุทธศาสนาในประเทศไทย
ผู้เขียนขอนำเสนอประวัติความเป็นมาของคัมภีร์หลักๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนรก และสวรรค์
โดยใช้คัมภีร์หลัก คือ พระไตรปิฎก รองลงมาเป็นคัมภีร์หรือวรรณกรรมในทางพุทธศาสนา
ได้แก่ ไตรภูมิพระร่วง พระไตรปิฎก คือ การจัดระเบียบหมวดหมู่
การจารึกเป็นตัวหนังสือการพิมพ์เป็นเล่ม ในเบื้องแรกเห็นควรกล่าวถึงพระสาวก ๔ รูป
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง คือ พระอานนท์, พระอุบาลี, พระโสณกุฏิกัณณะ และพระมหากัสสป จัดระเบียบพุทธวจนะให้เป็นหมวดหมู่
ในข้อนี้ย่อมเกี่ยวโยงไปถึงพระพุทธเจ้า พระสารีบุตร และพระจุนทะ
น้องชายพระสาริบุตร ซึ่งเคยเสนอให้เห็นความสำคัญของการทำสังคายนา คือ
จัดระเบียบคำสอนให้เป็นหมวดหมู่ สาเหตุเมื่อนิครนถนาฏบุตร
ผู้เป็นอาจารย์เจ้าลัทธิสำคัญคนหนึ่งสิ้นชีพ สาวกเกิดแตกกัน
พระจุนทเถระผู้เป็นน้องชายพระสาริบุตร เกรงเหตุการณ์เช่นนั้นจะเกิดแก่พุทธศาสนา
จึงเข้าไปหาพระอานนท์เล่าความให้ฟัง พระอานนท์จึงชวนไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคตรัสบอกพระจุนทะ
แนะให้รวบรวมธรรมภาษิตของพระองค์ และทำสังคายนา คือ
จัดระเบียบทั้งโดยอรรถและพยัญชนะเพื่อให้พรหมจรรย์ตั้งมั่นยั่งยืนสืบไป พุทธภาษิตที่แนะนำให้รวบรวมพุทธวจนะร้อยกรองจัดระเบียบหมวดหมู่นี้
ถือได้ว่าเป็นเริ่มต้นแห่งการแนะนำ เพื่อให้เกิดพระไตรปิฎกดั่งที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
ไตรภูมิพระร่วง
ไตรภูมิพระร่วง
เดิมชื่อ เตภูมิกถา เป็นหนังสือเก่าที่พระมหาธรรมราชาลิไท
ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย เมื่อศักราชได้ ๒๓ ปี เดือน ๔ ปีระกา
เมื่อครั้งเสียกรุงใน พ.ศ. ๒๓๑๐ ต้นฉบับเตภูมิกถาหายไป ดังนั้น
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงโปรดให้พระยาธรรมปรีดา (แก้ว)
แต่งขึ้นใหม่ชื่อว่า ไตรภูมิโลกวินิจฉัย ต่อมาจึงได้ต้นฉบับเดิมจากวัดๆ หนึ่ง
ในจังหวัดเพชรบุรี ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ภาษา
และถ้อยคำสำนวนที่ใช้เก่ามาก สันนิษฐานว่า
เป็นหนังสือเก่าที่คัดลอกมาจากต้นฉบับเดิมในสมัยกรุงสุโขทัย
ต้นฉบับเดิมของเตภูมิกถาบันทึกด้วยอักษรขอม ต่อมา คณะกรรมการหอสมุดวชิรญาณ จัดพิมพ์ขึ้นไว้ให้แพร่หลาย
จึงได้คัดลอกเป็นหนังสือไทยตามตัวอักษรโดยมิได้แก้ไขถ้อยคำแต่อย่างใด และได้เปลี่ยนชื่อเรื่องจาก
เตภูมิกถา เป็น ไตรภูมิพระร่วง เพื่อให้คู่กับสุภาษิตพระร่วง ซึ่งเชื่อว่า
เป็นหนังสือที่แต่งในยุคสุโขทัยเช่นเดียวกัน
ที่มาของเนื้อเรื่องในไตรภูมิพระร่วงนั้น
พระมหาธรรมราชาลิไทได้ทรงค้นคว้ารวบรวมจากคัมภีร์ต่างๆ ถึง ๓๐ คัมภีร์ ซึ่งเรียงตามลำดับ
ดังนี้ ๑) พระอัตถกถาฎีกาพระวตุรมรรค, ๒) พระอัตถกถาพระอภิธรรมาฆาวตาร, ๓)
พระอภิธรรมมัตถสังคหะ, ๔) พระมังคลัตถทีปนี, ๕) พระปปัญจสูทนี, ๖) พระสารัตถปกาสนี, ๗)
พระมโนรถปูรณี, ๘) พระสิโนโรตปภาสินี, ๙) พระอัตถกถาฎีกาพระวินัย, ๑๐) พระธรรมบท, ๑๑)
พระธรรมปทัฏฐกถา, ๑๒) พระยุรัตถปุรณีวิลาสินี, ๑๓) พระธรรมปาดก, ๑๔) พระชินาลังการ,
๑๕) พระสารัตถทีปนี, ๑๖) พระพุทธวงษ์, ๑๗) พระสารัตถสังคหะ, ๑๘) พระมิลินทปัญหา, ๑๙)
พระปาเลยยกะ, ๒๐) พระมหานิทาน, ๒๑) พระมหาอนาคตวงษ์, ๒๒) พระจริยาปิฎก, ๒๓)
พระโลกบัญญัติ, ๒๔) พระมหากัลป์ปะ, ๒๕) พระอรุณวัตติ, ๒๖) พระสมันตสาสาทิกา, ๒๗)
พระลักขณาภิธรรม, ๒๘) พระอนุฎีกาหิงสธรรม, ๒๙) พระสารีริกวินิจฉัย และ๓๐)
พระโลกุปปัตติ
ความหมายนรกในพระไตรปิฎกและไตรภูมิพระร่วง
เมื่อเปรียบเทียบความหมายของนรกในพระไตรปิฎกและไตรภูมิพรร่วง
พบว่า ในพระไตรปิฎกให้ความหมายคำว่า นรก มาจากคำบาลีว่า นิรยะ แปลว่า
สภาพที่ไม่มีความเจริญ สภาพที่ไม่มีความสุข สภาพหรือภูมิที่ไม่มีความยินดี
ไม่มีความเบาใจ
ไตรภูมิพระร่วงนั้น
ให้ความหมายว่า ที่ๆ ไม่มีความเจริญ ประกอบด้วย นรกใหญ่ ๘ ขุม ซ้อนเป็นชั้นกันลงไป
และนรกบ่าวอีก ๑๖ ขุม นรกย่อยขุมละ ๔๐ ขุมต่อนรกบ่าวหนึ่งขุม
สรุปได้ว่า
ทั้งสองคัมภีร์ มีความหมายของนรกเหมือนกัน
ความหมายสวรรค์ในพระไตรปิฎกและไตรภูมิพระร่วง
ความหมายของสวรรค์ในพระไตรปิฎกและไตรภูมิพรร่วง
เหมือนกัน จะแตกต่างก็คือ ไตรภูมิพระร่วงจะใช้คำว่า ภูมิ แต่ความหมายของคำว่า
สวรรค์ทั้งในพระไตรปิฎกและไตรภูมิพระร่วง สวรรค์ต่างก็เหมือนกัน ซึ่ง หมายถึง
โลกอีกโลกหนึ่งที่เพียบพร้อมไปด้วยกามสุขทั้ง ๕ หรือสถานที่อยู่ของเทวดาทั้งหลายในสวรรค์ชั้นกามาพจร
และยังมีสวรรค์ชั้นรูปพรหม และอรูปพรหม
สรุปว่า ความแตกต่างเป็นเพียงแค่ภาษาหรือการใช้ภาษา
ซึ่งปัจจุบันนี้ มีคำที่เกิดมากมายหลายคำ
นรกในพระไตรปิฎกและไตรภูมิพระร่วง
นรกที่ปรากฏในพระไตรปิฎก
และไตรภูมิพระร่วง นรกที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ส่วนใหญ่กระจายอยู่ตามพระสูตรต่าง ๆ
ที่ปรากฏเป็นชื่อของนรกโดยตรงก็มี เช่น โลหกุมภีนรก เป็นต้น
กล่าวถึงสภาพของนรกก็มี เช่น แม่น้ำเวตตรณีเป็นต้น ทำให้ยากต่อการศึกษา
เรียบเรียงลำดับ และจัดเป็นประเภท แต่รายละเอียดการอธิบายมีส่วนแตกต่างกันในด้านภาษา
ในพระไตรปิฎกนั้นไม่ได้กล่าวถึง นรกใหญ่ แต่บอกว่า เป็นมหานรก ๘ ขุม
อาจมีรายละเอียดอยู่บ้างไม่มากเท่าไหร่ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงตรัสถึงบ้างในบางพระสูตร
แต่อาจขาดอรรถาธิบาย สำหรับในไตรภูมิพระร่วงนั้น มีการอธิบายละเอียด ในการใช้ภาษา
เช่น ยมโลก เป็นต้น ในไตรภูมิพระร่วงไม่มีคำว่า ยมโลก และนรกบ่าวหรือนรกบริวารมีการเรียกชื่อที่แตกต่างกันบ้าง
แต่การลงโทษไม่แตกต่างกัน ตามอรรถาธิบายย่อๆ ไว้
จากข้อมูลที่กล่าวมา
สรุปได้ว่า คัมภีร์ทั้งสองนั้น ประเภทของนรกเหมือนกัน จำนวนเท่ากัน แต่รายละเอียดการอธิบายมีส่วนแตกต่างกันในด้านการใช้ภาษา
พระไตรปิฎกนั้นไม่ได้กล่าวถึง นรกใหญ่ แต่บอกว่า เป็นมหานรก ๘ ขุม และยมโลก ไตรภูมิพระร่วงไม่มีคำว่า
ยมโลก การลงโทษไม่แตกต่างกัน
สวรรค์ในพระไตรปิฎกและไตรภูมิพระร่วง
สวรรค์ในพระไตรปิฎกและไตรภูมิพระร่วงนั้นมี
๓ ประเภท พบว่า เหมือนกัน ซึ่ง ได้แก่ สวรรค์ชั้นกามาวจร ๖ ชั้น คือ จาตุมหาราชิกา
ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมานรดี ปรนิมมิตวสวัสดี, สวรรค์ชั้นรูปาวจร คือ
พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหมา และสวรรค์ชั้นรูปาวจรทุติยฌาน ๓ ชั้น คือ ปริตาภา
อัปปมาณาภา อาภัสสรา, สวรรค์ชั้นรูปาวจรตติยฌาน ๓ ชั้น คือ ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา
สุภกิณหา, สวรรค์ชั้นรูปาวจรจตุตถฌาน ๗ ชั้น คือ เวหัปผลา อสัญญสัตว์ อวิหา อตัปปา
สุทัสสา สุทัสสี อกนิฎฐา และสวรรค์ชั้นอรูปภูมิเป็นสวรรค์ประเภทที่ ๓ มี ๔ ชั้น
คือ อากาสานัญจายตนภูมิ วิญญาณัญจายตนภูมิ อากิญจัญญายตนภูมิ และ
เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ
จะเห็นได้ว่า
ทั้ง ๒ คัมภีร์นั้น มีการกล่าวถึงสวรรค์ที่เหมือนกัน เพราะเป็นการอ้างมาจากคัมภีร์ในพุทธศาสนา
โดยเฉพาะที่สำคัญ คือ พระไตรปิฎก และอรรถกถาต่างๆ
ลักษณะนรกในพระไตรปิฎกและไตรภูมิพระร่วง
ลักษณะนรกในพระไตรปิฎกและไตรภูมิพระร่วง
ในพระไตรปิฎก อาจพบว่า ไม่ชัดเจนขาดลายละเอียดในอรรถกถา ซึ่งในพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยนั้น
บางครั้งต้องตีความเอง แต่พระไตรปิฎก ฉบับหลวงภาษาไทยสามารถศึกษา
และอธิบายได้บ้างเป็นส่วน
นรกในพระไตรปิฎกนั้นจะกล่าวถึงชื่อนรกก็ต่อเมื่อมีการถือธรรมหรือเว้นในพุทธศาสนา
ซึ่งชื่อนรกเมื่อแปลความหมายตามอักษรแล้วก็จะบ่งบอกว่า มีลักษณะอย่างไร
ส่วนในไตรภูมินั้น จะกล่าวถึงนรกบริวาร และมีการอธิบายไว้
ลักษณะสวรรค์ในพระไตรปิฎกและไตรภูมิพระร่วง
ลักษณะสวรรค์ในพระไตรปิฎกและไตรภูมิพระร่วง
ลักษณะสวรรค์คล้ายกัน แต่ไม่เหมือน หรืออาจเป็นเพียงแต่ว่า ภาษา หรือการแปลภาษามาหลายๆ
ครั้งอาจทำให้ข้างฝ่ายไตรภูมิพระร่วงออกจะเข้าใจยากอยู่บ้างหากไม่มีการตีความให้ชัดเจน
ในลักษณะสวรรค์อาจมีการพรรณนาสวรรค์ที่แตกต่างกัน แต่ในพระไตรปิฎก กลับกล่าวว่า
มีความสุขยิ่งกว่า เป็นต้น
คำสอนเกี่ยวกับนรกในพระไตรปิฎกและไตรภูมิพระร่วง
คำสอนเรื่องนรกในพระไตรปิฎกและไตรภูมิพระร่วง
จะเห็นว่า ไม่ต่างกันมากหรือไม่แตกต่างกันเลย ในพระไตรปิฎก เป็นแม่บทอยู่แล้ว
ดังนั้น คำสอนไม่แตกต่างกัน เช่น การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การลักทรัพย์ การพูดเท็จ
และการคบชู้ภรรยาของผู้อื่น เป็นต้น เหล่านี้ คือ การกล่าวถึงเรื่องศีล ๕
ซึ่งเป็นข้อเว้นของปุถุชนทั่วไป
คำสอนเกี่ยวกับสวรรค์ในพระไตรปิฎกและไตรภูมิพระร่วง
คำสอนเรื่องสวรรค์ในพระไตรปิฎกและไตรภูมิพระร่วงนั้น
เหมือนกัน กล่าวคือ ทั้งพระไตรปิฎกและไตรภูมิพระร่วงต่างก็มีคำสอนในเรื่องของสวรรค์ให้ผู้คนทั้งหลายทำความดีด้วยการทำจิตใจให้บริสุทธิ์
หมั่นทำบุญ ทำทาน ถือศีล ภาวนา เช่นกัน
จากลักษณะและคำสอนเรื่องนรกและสวรรค์นั้นล้วนแล้วแต่มีลักษณะคำที่คล้ายกันและเหมือนกันหากเพียงเป็นแต่ใช้ภาษาที่แตกต่างกันบ้างเท่านั้น
เอกสารอ้างอิง
พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
๒๕๓๙.
พระไตรปิฎกภาษาไทย
ฉบับหลวง. กรุงเทพมหานคร: กรมศาสนา, ๒๕๒๑.
พญาลิไท. ไตรภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วง.
พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร:
องค์การค้าของ
คุรุสภา, ๒๕๔๕.
เสถียร โกเศศ. เล่าเรื่องในไตรภูมิ.
พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์น้ำฝน, ๒๕๔๐.
--------------------------------------------------------