พระพุทธเจ้า | อมรภัทร เสริมทรัพย์ | คอนเสิร์ตคุณพระช่วยสำแดงสด ๖

เพลงพระพุทธเจ้า

40 ภิกษุณีพระอรหันต์ : พุทธสาวิกาในสมัยพุทธกาล

15.2.พระสารีบุตรเถระ ภิกษุสาวกผู้เลิศด้านมีปัญญามาก อ่านโดย อ.เพ็ญศรี อิ...

พระพุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน

ประวัติ พระมหาโกฏฐิตเถระ
ประวัติ พระมหาโกฏฐิตเถระ
พระมหาโกฏฐิตเถระ นามเดิม โกฏฐิตะ
มีความหมายว่า ทำให้คนหนีหน้า เพราะเขาเป็นผู้ฉลาดในศาสตร์ต่างๆ
จึงเที่ยวทิ่มแทงคนอื่นด้วยหอก คือ ปากของตน บิดาชื่อ อัสสลายนพราหมณ์ มารดาชื่อ
จันทวดีพราหมณี ทั้งคู่เป็นชาวเมืองสาวัตถี ชีวิตก่อนบวช เขาเจริญวัยแล้วได้เล่าเรียนไตรเพทจนถึงความสำเร็จในศิลปของพราหมณ์
เป็นผู้ฉลาดในเวทางคศาสตร์ ตักกศาสตร์ นิฆัณฑุศาสตร์ ถกฏุภศาสตร์
ในประเภทแห่งอักษรสมัยของตน และในการพยากรณ์ทั้งหมด เขาชอบพูดหักล้างคนอื่น
ใครพบเขาจึงพากันหลบหน้า ไม่อยากสนทนาด้วย
มูลเหตุของการบวชในพระพุทธศาสนา โกฏฐิตมานพ
ถึงแม้จะเป็นผู้มีความรู้มาก แต่ก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น
ได้พยายามศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ได้ยินกิตติศัพท์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ว่าเป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ทรงแสดงธรรมไพเราะ
ชี้ให้เห็นประโยชน์ในโลกนี้และโลกหน้าได้ชัดเจน เขาจึงเข้าไปเฝ้าและฟังธรรม
แล้วเกิดศรัทธาปรารถนาจะบวช จึงทูลขอบวชกับพระองค์ ๆ ทรงบวชให้เขาตามประสงค์
การบรรลุธรรม ตั้งแต่เขาได้บวชแล้ว
ก็พากเพียรศึกษาพระธรรมวินัย และตั้งใจบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานพิจารณาสังขาร
โดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา ไม่ช้าก็ได้สำเร็จ
พระอรหัตผลพร้อมกับปฏิสัมภิทา ๔ มีความเชี่ยวชาญในปฏิสัมภิทาญาณ กล้าหาญ
แม้จะเข้าไปหาพระมหาเถระหรือแต่พระศาสดาก็จะถามปัญหาในปฏิสัมภิทา ๔
จึงมีนามเพิ่มอีกว่า มหาโกฏฐิตะ
งานประกาศพระศาสนา พระมหาโกฏฐิตเถระ
เป็นพระเถระรูปหนึ่งที่ได้แสดงหลักธรรมในพระพุทธศาสนาไว้มาก เช่น ในมหาเวทัลลสูตร
ท่านได้ซักถามพระสารีบุตรเถระเพื่อเป็นการวางหลักธรรมในพระพุทธศาสนา
จะนำมาเฉพาะบางเรื่อง ดังนี้
ผู้มีปัญญาทราม คือ ผู้ไม่รู้อริยสัจ ๔
ตามเป็นจริง
ผู้มีปัญญา คือ ผู้รู้อริยสัจ ๔
ตามเป็นจริง
วิญญาณ คือ ธรรมชาติที่รู้แจ้ง
ได้แก่รู้แจ้ง สุข ทุกข์ และไม่ทุกข์ไม่สุข
ปัจจัยในการเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิมี ๒
อย่าง คือ การประกาศของผู้อื่น (ปรโตโฆสะ) ๑ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย
(โยนิโสมนสิการ) ๑
การเกิดในภพใหม่มีได้
เพราะความยินดีในภพนั้น ๆ ของสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นนิวรณ์ (เครื่องกั้น)
มีตัณหาเป็นสังโยชน์ (เครื่องผูกมัด) การไม่เกิดในภพใหม่มีได้ เพราะเกิดวิชา และเพราะดับตัณหา
คนตายกับผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธต่างกัน คือ คนตายสิ่งปรุงแต่งกาย วาจา จิตดับ
อายุสิ้น ไออุ่นดับ และอินทรีย์แตก ผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สิ่งปรุงแต่งกาย วาจา
จิตดับ แต่อายุยังไม่สิ้น ไออุ่นยังไม่ดับ อินทรีย์ผ่องใส
เอตทัคคะ เพราะอาศัยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ระหว่างท่านกับพระสารีบุตรเถระ ในมหาเวทัลลสูตรนี้ พระศาสดาจึงทรงยกย่องท่านว่า
เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้บรรลุปฏิสัมภิทา
บุญญาธิการ แม้พระมหาโกฏฐิตเถระนี้
ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการอันเป็นอุปนิสัยแห่งมรรคผลนิพพานมานาน
ในกาลแห่งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า
เขาได้เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้บรรลุปฏิสัมภิทา
ปรารถนาจะเป็นเช่นนั้นบ้าง จึงก่อสร้างความดีตลอดมา
แล้วได้สมปรารถนาในสมัยแห่งพระศาสดาของเราทั้งหลาย ดังได้กล่าวมา
ธรรมวาทะ ผู้มีอินทรีย์ (ตา หู จมูก
ลิ้น กาย ใจ) อันสงบ (ไม่รับเอาสิ่งผิดมาใส่ตน) เป็นผู้งดเว้นจากการทำบาป
โดยประการทั้งปวง พิจารณาด้วยปัญญาแล้วจึงพูดไม่ฟุ้งซ่านเพราะเย่อหยิ่งด้วยชาติ เป็นต้น
ย่อมกำจัดบาปธรรมทั้งหลายได้ เหมือนลมพัดใบไม้เหลืองให้หล่นจากต้น
การนิพพานของพระมหาโกฏฐิตเถระได้ทำหน้าที่ของท่านและหน้าที่ต่อพระศาสนาในฐานะที่เป็น
พระสงฆ์แล้วได้ดำรงจนอายุอยู่ตามสมควรแก่เวลา สุดท้ายก็ได้นิพพานดับไป
------------------------------------------------------------
เอกสารและสิ่งอ้างอิง
คณาจารย์เลี่ยงเชียงจงเจริญ.
วิชาอนุพุทธประวัติ ๘๐ องค์ ฉบับสมบูรณ์, พ.ศ.๒๕๔๓.
https://sites.google.com/site/dmamatri/

ประวัติ พระมหากัปปินเถระ
ประวัติ พระมหากัปปินเถระ
พระมหากัปปินเถระ นามเดิม กัปปินะ
ต่อมาได้ครองราชย์จึงมีนามว่า มหากัปปินะ เป็นวรรณะกษัตริย์ พระบิดาพระมารดา
ไม่ปรากฏพระนาม เป็นเจ้าเมืองกุกกุฏวดีในปัจจันตชนบท มีชีวิตก่อนบวช เมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้ว
ก็ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อสันตติวงค์ ทรงพระนามว่า พระเจ้ามหากัปปินะ
ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงอโนชาเทวี พระราชธิดาของพระเจ้าสาคละ แห่งแคว้นมัททะ ทั้ง
๒ พระองค์ทรงสนพระทัยเรื่องศาสนา คอยสดับตรับฟังว่า ข่าวการอุบัติของ
พระพุทธเจ้าตลอดเวลา
มูลเหตุของการบวชในพระพุทธศาสนา วันหนึ่ง
ทรงทราบข่าวจากพ่อค้าชาวเมืองสาวัตถีว่า พระพุทธเจ้า พระธรรม
และพระสงฆ์อุบัติขึ้นแล้วในโลก ทรงดีพระทัยอย่างยิ่ง พร้อมกับบริวารจำนวนหนึ่ง
ได้เสด็จมุ่งหน้าไปยังเมืองสาวัตถี พระพุทธเจ้าทรงทราบข่าวการเสด็จมาของพระเจ้ามหากัปปินะ
จึงเสด็จไปรับที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา ประทับนั่งอยู่ที่โคนต้นพหุปุตตนิโครธ
ท้าวเธอพร้อมด้วยบริวารได้เสด็จเข้าไปเฝ้า ณ ที่นั้น ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและอริยสัจ
๔ ครั้นจบพระธรรมเทศนา พระราชาพร้อมด้วยบริวารได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบท
ทรงให้พวกเขาอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
การบรรลุธรรมของพระมหากัปปินเถระพร้อมกับบริวารได้บรรลุอรหัตผลก่อนบวช
หลังจากฟังอนุปุพพีกถา และอริยสัจ ๔ จบลง ครั้นบรรลุพระอรหัตผลแล้วจึงทูลขอบวช
งานประกาศพระศาสนา เมื่อบวชในพระพุทธศาสนา
และแม้จะสำเร็จพระอรหันต์แล้ว ท่านก็ไม่สอนใคร มีความขวนขวายน้อย
ต่อมาพระศาสดาทรงทราบ จึงรับสั่งให้ท่านสอนผู้อื่นบ้าง ท่านทูลรับด้วยเศียรเกล้า
ได้แสดงธรรมแก่อันเตวาสิกของท่านประมาณพันรูปให้บรรลุอรหัตผล
เอตทัคคะ พระศาสดาทรงอาศัยเหตุที่ท่านแสดงธรรมแก่อันเตวาสิกนั้น
จึงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งอันเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุ
บุญญาธิการ คือ พระมหากัปปินเถระนี้
ก็ได้ปรารถนาตำแหน่งแห่งผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุ
ในสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ได้สร้างสมความดีตลอดมา และได้สมความปรารถนาในสมัยแห่งพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย
ดังกล่าวมา
ธรรมวาทะว่า มีปัญญา แม้ไม่มีทรัพย์
ยังพออยู่ได้ ขาดปัญญา แม้มีทรัพย์ ก็อยู่ไม่ได้ ปัญญาเป็นตัวชี้ขาด
ศาสตร์ที่เรียนมาปัญญาทำให้เจริญไปด้วยเกียรติ และความสรรเสริญ
ผู้มีปัญญาย่อมได้รับความสุข แม้ในสิ่งที่คนอื่นเขาทุกข์กัน
การนิพพานของพระมหากัปปินเถระ
ทำหน้าที่ของพระสงฆ์ผู้ดำรงพระพุทธศาสนา ตามสมควรแก่เวลาของท่าน แล้วได้นิพพานจากไป
-------------------------------------------------------------
เอกสารและสิ่งอ้างอิง
คณาจารย์เลี่ยงเชียงจงเจริญ.
วิชาอนุพุทธประวัติ ๘๐ องค์ ฉบับสมบูรณ์, พ.ศ.๒๕๔๓.
https://sites.google.com/site/dmamatri/
